เม็ดบัวอบกรอบ มาย เม็ดบัวอบแห้ง มาย ผลิตนากเม็ดบัวไทย กรอบ หอม อร่อย ดีบัวเม็ดบัวอบกรอบ, เม็ดบัวอบกรอบ อ้วนไหม ,เม็ดบัวอบกรอบ ราคา,เม็ดบัว,เม็ดบัวอบแห้ง,กินเม็ดบัว อ้วนไหม,สรรพคุณเม็ดบัวสด,ประโยชน์ของเม็ดบัวอบแห้ง,เม็ดบัว ทําอะไรได้บ้าง,เม็ดบัวอบกรอบแม่จรูญ,เม็ดบัวอบกรอบ มาย,เม็ดบัวอบเกลือ,เม็ดบัวอบกรอบ แคลอรี่,เม็ดบัวอบกรอบเวียดนาม,เม็ดบัวอบแห้ง ของฝาก,เม็ดบัว,เผือกทอดกรอบ กี่แคล,, คุณอยากหาอะไรครับ ที่นี่คือ เม็ดบัวอบกรอบ มาย ผลิตที่จังหวัดสุรินทร์,สินค้าของชาวสุรินทร์,สินค้าไทย
 




    พูดคุยทั่วไป -->บัวหลวง เกสร สรรพคุณ ที่เป็นประโยชน์ของเม็ดบัว
 เจ้าของกระทู้  หัวเรื่อง

 BK Noi
หัวเรื่อง : บัวหลวง เกสร สรรพคุณ ที่เป็นประโยชน์ของเม็ดบัว
เวลาตอบกระทู้ : 3/21/2018 6:37:46 AM
 
 
สรรพคุณของบัวหลวง รากและเม็ดบัวมีรสหวานเย็น และมันเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ใช้เป็นยาชูกำลัง (ราก,เม็ดบัว,ดอก) ช่วยบำรุงร่างกาย แก้กษัย (เม็ดบัว,ใบอ่อน,กลีบดอก) เม็ด บัวมีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยเพิ่มพลังงานและไขมันในร่างกาย จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งหายป่วยใหม่ๆ ที่ยังมีอาการอ่อนเพลียอยู่ หรือใช้เป็นอาหารบำรุงกำลังของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง มีอาการอ่อนเพลีย หรืออาเจียน (เม็ดบัว) หรือจะใช้รากต้มเป็นน้ำกระสายดื่มแก้อาการอ่อนเพลียก็ได้ (ราก) ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย (เม็ดบัว) สรรพคุณดอกบัวหลวง ดอกบัวสดสีขาวใช้ต้มกับน้ำดื่มติดต่อกัน มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น และช่วยลดอาการใจสั่น (ดอก,เกสร,กลีบดอก)

บัวหลวง ชื่อสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติหรือบัวหลวง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดีย และไทย มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้า และไหล ใบเมื่อยังอ่อนจะลอยปิ่มน้ำ ส่วนใบแก่จะโผล่พ้นน้ำ ก้านใบ และก้านดอกมีหนาม ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ชูสูงพ้นผิวน้ำ มีทั้งดอกทรงป้อมและแหลม กลีบดอกมีทั้งชนิดซ้อนและไม่ซ้อน สีขาว ชมพู หรือเหลือง แล้วแต่ชนิดพันธุ์ บัวในสกุลนี้เป็นบัวที่รู้จักกันดีเพราะเป็นบัวที่มีดอกใหญ่นิยมนำมาไหว้พระ และใช้ในพิธีทางศาสนา เหง้าหรือที่มักเรียกกันว่ารากบัว และไหลบัว รวมทั้งเมล็ดสามารถนำมาเป็นอาหารได้

บัวเป็นไม้ดอกที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ก่อนสมัยพุทธกาลตามพุทธประวัติ พบว่าบัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่เมื่อพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนจึงมีการใช้ดอกบัวเพื่อการบูชาพระ ตลอดทั้งในพิธีการทางศาสนาพุทธ บัวจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ ของความบริสุทธิ์และคุณงามความดี ในพุทธ – ศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัวเป็น 4 ระดับ คือ บัวในโคลนตม บัวใต้น้ำ บัวปิ่มน้ำ และบัวเหนือน้ำ ซึ่งเปรียบเสมือนว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ที่มีคุณค่าสูงสุด

บัวหลวง เป็นไม้ล้มลุก ซึ่งเจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน ลำต้นสีเขียวอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปกลม แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลมขนาดใหญ่ ใบมีสีเขียว ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวาง จะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยวมีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง ๔-๕ กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น นฐานรองดอกรูปกรวย สีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมากฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียวที่เรียกว่า “ฝักบัว” มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

รูปดอกจะเป็นพุ่มทรงสูงกลีบดอกสีชมพู ซ้อนกันหลายชั้น แต่ละกลีบโค้ง มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมาก ถัดเข้าไปตรงกลางเป็นส่วนฐานรองดอก จะขยายเป็นรูปกรวยสีเหลืองเป็นส่วนที่ไข่จะฝังอยู่และไข่จะเจริญไปเป็นผลบัวและฝังอยู่บนฝักบัว บัวชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่า”ปทุม ปัทมา โกกระนต โกกนุต

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่อสามัญ : Lotus
วงศ์ : Nelumbonaceae
ชื่ออื่นๆ : บุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช บัวฉัตรขาว บัวฉัตรสีชมพู สัตตบุษย์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า “ฝักบัว” มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

สายพันธ์บัวหลวง
บัวหลวงอยู่ในวงศ์ Nymphaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn มีชื่อสามัญว่า Sacred Lotus บัวที่นิยมปลูกมี 4 สายพันธุ์ ดังนี้

บัวพันธุ์ดอกสีชมพู ( บัวแหลมชมพู ) มีชื่อว่า ปทุม ปัทมา โกกระนต หรือ โกกนุต ดอกขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ ปลายเรียวสีชมพู กลีบดอกชั้นนอกมี 4-5 กลีบ รูปไข่มีขนาดเล็ดเรียงตัวกัน 2 ชั้น ส่วนกลางของกลีบมีรูปร่างโค้งป่อง ตรงกลางสีชมพูอมเขียว ส่วนกลีบดอกชั้นกลางและชั้นในสีชมพูเข้ม โคนกลีบดอกสีขาวนวล มีประมาณ 13-14 กลีบ เรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น อยู่โดยรอบฐานดอก กลีบชั้นนอกและชั้นในมีสีและรูปร่างคล้ายชั้นกลางแต่เล็กกว่ากลีบในชั้นกลาง
บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาว ( บัวแหลมขาว ) มีชื่อว่า บุณฑริก หรือ ปุณฑริก ดอกขนาดใหญ่เป็นรูปไข่ ปลายเรียว คล้ายบัวพันธุ์ปทุม ดอกมีสีขาวประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว ส่วนกลีบในชั้นกลางและชั้นในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพูเรื่อๆ รูปร่างของกลีบและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายดอกบัวพันธุ์ปทุม
บัวหลวงชมพูซ้อน ( บัวฉัตรชมพู ) มีชื่อว่า สัตตบงกช ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม สีชมพู ประกอบด้วยกลีบนอกเป็นรูปรี มี 4-7 กลีบ กลีบเล็กเรียนซ้อนกันเป็นชั้น 2-3 ชั้น สีเขียวอมชมพู กลีบในสีชมพูตลอด ส่วนโคนกลีบที่ติดกับฐานรองดอกมีสีขาวอมเหลือง กลีบในมีประมาณ 12-16 กลีบ กลีบในชั้นนอกและชั้นในมีขนาดเล็กกว่าชั้นกลาง เป็นรูปไข่ที่มีส่วนกว้างอยู่ด้านบน เกสรตัวผู้ชั้นนอกๆ เป็นหมัน โดยมีก้านชูที่เป็นเกสรตัวผู้ที่เป็นแผ่นบางๆ สีชมพูคล้ายกลีบในแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีอับเรณู แต่ปลายกลีบมีส่วนยื่นออกมาที่มีฐานเรียวเล็ก ส่วนปลายพองใหญ่ มีสีขาวนวล
บัวหลวงขาวซ้อน ( บัวฉัตรขาว ) มีชื่อว่า สัตตบุตย์ ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม คล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช ดอกมีสีขาว ประกอบด้วยกลีบดอกสีเขียวอมขาว ส่วนกลีบชั้นในสีขาวตลอด ส่วนรูปทรงและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช
ประโยชน์ :
ดอกนำมาบูชาพระ ใบห่ออาหาร หรือใช้ในงานประดิษฐ์ เมล็ดนำมาประกอบเป็นอาหาร เกสรผู้เป็นยาขับปัสสาวะ หรือเป็นเครื่องสำอาง

ส่วนที่ใช้ : ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก

สรรพคุณ :

ดีบัว – มี Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวทำให้เส้นเลือดขยาย
ดอก, เกษรตัวผู้ – ขับปัสสาวะ ฝากสมาน ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ เกษรปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง ทำให้ชื่นใจ ยาสงบประสาท ขับเสมหะ
เกสร – ช่วยบำรุงครรภรักษา แก้ไข้รากสาด รวมทั้งแก้ไข้จากพิษร้อน และชูกำลังให้แข็งแรง ให้รสฝาดหอม
เมล็ด – ช่วยแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงไขข้อ รวมทั้งแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยให้กระชุ่มกระชวย ตลอดจนขับเสมหะ แก้ดีพิการ หรือพุพอง และแก้อาเจียน เพิ่มไขมันในร่างกาย ให้รสหวานมัน
เหง้าและเมล็ด – รสหวาน เย็น มันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
เมล็ดอ่อนและแก่ – เมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหาร และใช้ทำเป็นแป้งได้ดี
เหง้าบัวหลวง – ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน
ไส้ของของเมล็ด – แก้เส้นโลหิตตีบในหัวใจ
ยางจากก้านใบและก้านดอก – แก้ท้องเดิน
ราก – แก้เสมหะ

สารเคมี :

ดอก มีอัลคาลอยด์ ชื่อ nelumbine
embryo มี lotusine
เมล็ด มี alkaloids และ beta-sitosterol

การขยายพันธุ์
การแยกเหง้า
วิธีนี้เหมาะสำหรับบัวในเขตร้อนคือบัวหลวง จะสร้างไหลจากเหง้า ( ราก ) ของต้นแม่แล้วงอกไปเป็นต้นใหม่ สามารถขยายพันธุ์โดยการตัดเหง้า ให้มีความยาวประมาณ 2-3 ข้อ มีตาประมาณ 3 ตา ต้นอ่อนจะขึ้นจากตา และเจริญเป็นต้นใหม่

การเก็บรักษาเหง้า
โดยนำมาวางรวมกัน รดน้ำให้โชกปิดด้วยใบตองหรือผ้าที่ชุบน้ำให้เปียก เพื่อรักษาความชื้นอย่าให้แห้ง ( พันธุ์บัว 1 เหง้าควรจะต้องมีตา 3 ตา กรณีที่มีตาไม่ถึง 3 ตา สามารถนำมามัดรวมกันแล้วนับให้ได้ 3 ตา ซึ่งเกษตรกรจะเรียก 1 กำ หรือ 1 จับ )

การเตรียมดิน
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกบัวมีข้อควรพิจารณาดังนี้

พื้นที่ราบสม่ำเสมอ
ดินเป็นดินเหนียว มีธาตุอาหารพวกโปแตสเซียมสูง สำหรับพื้นที่ดินร่วนหรือร่วนบนทรายสามารถปลูกได้ แต่ได้ผลผลิตไม่ดี เพราะจะมีการเจริญเติบโตของใบมากกว่าดอก
ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการนำน้ำเข้าไปใช้ในนาบัว
การเตรียมพื้นที่
สำหรับทำนาบัวจะคล้ายๆกับการทำนาดำ โดยเริ่มจากการเอาน้ำออกให้แห้ง ยกคันดินโดยรอบพื้นที่ สูงประมาณ 1.5 เมตร เก็บเศษวัสดุและกำจัดวัชพืชออกให้หมดปรับพื้นที่ให้เรียบ ไถดะโรยปูนขาว ตากแดดทิ้งไว้ 7-15 วัน แล้วไถแปรอีกครั้งพร้อมกับเติมปุ๋ยคอกเก่าๆ เช่น มูลไก่ มูลโค ประมาณ 200 กิโลกรัม จากนั้นระบายน้ำเข้าให้สูงจากพื้นดินประมาณ 15 ซม . ทิ้งไว้ 3-5 วัน ให้ดินตกตะกอนและอ่อนตัว แล้วจึงนำไหลบัวมาปักดำระยะปลูกที่เหมาะสมคือระยะระหว่างต้น 2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่จะใช้ไหลบัวประมาณ 400 ไหล

การปลูกบัว
วิธีการปักดำมี 2 วิธีการคือ

ใช้ตะเกียบหรือใช้ไม้คีบ วิธีการนี้จะใช้ไม้ไผ่เหลาให้หนากว่าตอกเล็กน้อย ยาวประมาณ 50 ซม . แล้วนำมาพับครึ่งคีบตรงบริเวณข้อบัวที่เตรียมไว้อย่าให้บัวช้ำแล้วปักไม้ลงในดินให้ระดับไหลอยู่สูงกว่าระดับผิวดินประมาณ 4 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้บัวเน่า และเหลือใบให้ลอยน้ำ 1 ใบ
ใช้ดินหมก วิธีนี้ใช้กับนาบัวที่สามารถบังคับระดับน้ำได้โดยการปล่อยน้ำออกจากนาบัวซึ่งดินจะอ่อนตัวเหมาะกับการใช้เสียม หรือใช้มือคุ้ยดินให้เป็นหลุมลึก 7-10 ซม . นำไหลบัวใส่หลุมแล้วนำดินกลบไหลบัวโดยเว้นบริเวณตา หรือบริเวณส่วนยอดไว้เพื่อให้บัวแตกใบ หลังจากปักดำเสร็จ ปล่อยน้ำเข้าให้ท่วมพื้นที่นาบัวหลังจากปักดำแล้ว 15 วัน ถ้าบัวไม่แตกใบใหม่ควรทำการปักดำซ่อม
การให้น้ำ
ในช่วงเดือนแรกต้องรักษาระดับน้ำให้ขังอยู่ในนาบัวประมาณ 30 ซม . ถ้าระดับน้ำสูงกว่าที่กำหนด ใบบัวที่แตกใหม่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำจะโผล่ได้ช้า เป็นสาเหตุให้บัวตาย หลังจากนั้นเมื่อบัวเจริญเติบโตสูงขึ้น ปล่อยน้ำเข้าแปลงให้มีความลึกประมาณ 50 ซม . แต่ไม่ควรเกิน 100 ซม . เพราะความลึกระดับนี้บัวจะได้รับอุณหภูมิพอเหมาะทำให้บัวสามารถออกดอกได้มาก

ศัตรูพืช

เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ ไรแดง และเพลี้ยอ่อน จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนทำให้ใบหยิกงอ สั้นลง
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น มาลาไธออน หรือโพรพาไกต์ (สำหรับกำจัดไร) ฉีดพ่นทุก 15 วัน หรืออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
หนอนชอนใบ หนอนกินใบ จะกัดกินใบจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้มักจะระบาดในฤดูแล้ง
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น มาลาไธออน ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน
หนอนผีเสื้อ หนอนกอ เป็นศัตรูที่สำคัญและระบาดได้ตลอดปี เกิดจากผีเสื้อกลางคืนวางไข่ เมื่อฟักแล้วหนอนจะกัดกินใบบัวทำให้ฉีกขาด การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น มาลาไธออน ฉีดพ่นหรือหว่านลงในแปลง อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
หนู จะกัดกินเมล็ด ใบและฝักบัว การป้องกันกำจัดใช้สารเบื่อหนู และกำจัดพืชรอบๆแปลงที่เป็นที่อยู่อาศัยของหนู
หอย เป็นสัตว์ที่มีประโยชน์และโทษ ประโยชน์คือช่วยบอกคุณภาพของน้ำว่าน้ำในบ่อมีสภาพดีหรือเสียถ้าหอยลอยอยู่บนผิวน้ำ เกาะบริเวณขอบบ่อ แสดงว่าน้ำเริ่มเสีย ควรรีบเปลี่ยนน้ำทิ้ง โทษคือถ้ามีในปริมาณมากหอยจะเกาะก้านบัวดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบอ่อนเจริญไม่พ่นน้ำ กำจัดทิ้งโดยใช้ไม้ไผ่แช่น้ำทิ้งไว้ ยกขึ้นเก็บหอย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
โรค

โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp . เป็นโรคที่ไม่รุนแรงสำหรับบัว ป้องกันกำจัดโดยการตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง
โรครากเน่า มีลักษณะอาการ ต้นบัวจะแคระแกรน ลักษณะคล้ายขาดอาหาร ป้องกันกำจัดโดยถอนบัวขึ้นมาตัดเหง้าที่เน่าทิ้ง แล้วปลูกใหม่
 
Page
ห้างหุ้นส่วนจํากัด ทีแอลเทรดวินด์
สํานักงานใหญ่
275 หมู่ 18 ถ.ศรีพัฒนา ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทรศัพท์.085-4909653 โทรสาร.044-514904

Email: maisection@gmail.com

Website: www.mailotusseeds.com


Product Inquiries: maisection@gmail.com

 Contact us

We appreciate your interest in Mai Lotus. To better assist you in finding the information you are looking for, please contact us , we're ready to assist and we are here for you!

ประเภทสอบถาม /Contact for :
รายละเอียด /Content :
ตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ ขีดกลาง
จาก ชื่อ - สกุล /Your name :
อีเมล์ / Email :
เบอร์โทรศัพท์ / Your Tel number :
 
   
 

หจก. ทีเเอลเทรดวินด์
สํานักงานใหญ่
275 หมู่ 18 ถ.ศรีพัฒนา ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทรศัพท์.085-4909653 โทรสาร.044-514904
 
เว็บสำเร็จรูป
×